ในการเจาะรูที่มีขนาด
ขนาดของดอกสว่านก็มีผลต่อความยากง่ายในการเจาะลดระยะเวลาในการเจาะรู
การใช้ดอกสว่านที่มีขนาดเล็กในการเจาะรูที่มีขนาดยาวจะทำได้ดีกว่าดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่
ในการออกแบบกระบวนการทำงานต้องพิจารณาถึงตรงนี้ด้วย. แต่ในการทำงานจริงอาจมีข้อจำกัดในการออกแบบ
เช่น จำเป็นต้องออกแบบให้รูเจาะมีขนาดใหญ่ ในบางครั้งเพื่อให้การเจาะรูทำได้ง่ายขึ้น
อาจต้องใช้ดอกสว่านที่มีขนาดเล็กเจาะรูนำก่อน
จากนั้นจึงใช้ดอสว่านขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ขนาดตามการออกแบบแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเวลาและต้นทุนในการผลิตประกอบกันด้วย
เช่น ต้องการเจาะรูที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20.0 มม. สามารถทำได้ดังนี้
แบบที่
1 : ใช้ดอกสว่านขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
20 มม. เจาะหนึ่งครั้งเวลาในการเจาะรู 20 นาที มีต้นทุนการผลิตดังนี้
ต้นทุนในกระบวนการ
20 นาที = 100 บาท
ต้นทุนด้าน
cutting tool = 200 บาท
รวมต้นทุน
= 300
บาทต่อการเจาะชิ้นงาน 1 ชิ้น
แบบที่
2 : ใช้ดอกสว่านขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
10 มม. เจาะหนึ่งครั้งเวลาในการเจาะรู 5 นาที และตามด้วยดอกสว่านเส้นผ่านศูนย์กลาง
20 มม.ใช้เวลาในการเจาะรู 5 นาที มีต้นทุนการผลิตดังนี้
ต้นทุนในกระบวนการ
10 นาที (5+5) = 100
บาท
ต้นทุนด้าน
cutting tool = 300 บาท
รวมต้นทุน
= 400
บาทต่อการเจาะชิ้นงาน 1 ชิ้น
จากตัวอย่างการเจาะรูแบบที่
2 ถึงแม้จะใช้ดอกสว่านที่มีขนาดเล็กกว่าแต่ต้นทุนก็ยังสูงกว่า จึงสามารถสรุปได้ว่า
การใช้ดอกสว่านที่เล็กกว่าสามารถเจาะรูได้เร็วกว่าดอกสว่านที่มีขนาดใหญแน่นอนแต่ก็ไม่จำเป็นว่าต้องมีต้นทุนในการทำงานที่ถูกกว่าเสมอไป
เนื่องจากต้นทุนประกอบประด้วยองค์ประกอบหลายๆ
อย่างรวมกันไม่ใช่แค่เวลาในการผลิตเท่านั้น..