งานกลึง (Turning)
งานกลึงเป็นกระบวนการขึ้นรูปงานในลักษณะของงานทรงกระบอกเป็นหลักประกอบด้วย งานกลึงปาดหน้า, งานกลึงปอก,งานกลึงเกลียว, งานกลึงคว้านรูใน, งานกลึงเซาะร่อง, งานกลึงตัด, รูปด้านล่างแสดงตัวอย่างของงานกลึงประเภทต่างๆ.
เครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปนงานกลึงคือ เครื่องกลึง (Lathe) มีทั้งเครื่องกลึงที่เป็นการควบคุมแบบธรรมดาหรือ manual และเครื่องกลึงที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ (CNC Lathe). นอกจากงานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เครื่องกลึงยังสามารถทำงานได้อีกหลายอย่าง เช่น เจาะรู (drill), ต๊าปเกลียว (Tapping)
ลักษณะการขึ้นรูปของงานกลึงนั้น ชิ้นงานจะยึดติดอยู่กับที่และหมุนอยู่บนหัวจับ (spindle) ของเครื่องกลึง หลังจากนั้นเครื่องมือตัด (cutting tool) จะเคลื่อนที่เข้าตัดชิ้นงานเป็นรูปร่างต่างๆ
 |
รูปที่ 1 แสดงการกลึงลักษณะต่างๆ |
ประเภทของงานกลึง
1.งานกลึงปาดหน้า (Facing Turning)
 |
รูปที่ 2 แสดงการกลึงปาดหน้า |
การกลึงปาดหน้า เป็นลักษณะการกลึงปาดผิวหน้าตัดของชิ้นงาน (รูปประกอบ) ออก ชิ้นงานจะหมุน ส่วนมีดกลึงจะเคลื่อนที่เข้าออกในแนว Y (ด้านตั้งฉากกับ spindle) เพื่อปาดผิวหน้า และเลื่อนซ้าย-ขวาในแนวแกน Z (แนวเดียวกับ spindle) เพื่อควบคุมความยาว
มีดที่ใช้ในการกลึงปาดหน้า
มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปาดหน้ามีหลายรูปทรงแต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ รูปทรงสามเหลี่ยม (รูปที่ 3) หรือมีดกลึงชนิด T (Triangle) มีมุม 60 องศา สามารถกลึงงานได้ 3 มุม. การเลือกขนาดรัศมีปลายมีดกลึง(R) ขึ้นอยู่กับความละเอียดของผิวปาดหน้าที่ต้องการ ถ้าต้องการผิวละเอียดมากก็ใช้ R ที่มีขนาดเล็ก เช่น 0.2 - 0.4 mm.
 |
รูปที่ 3 มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปาดหน้า |
2.งานกลึงปอก
การกลึงปอกเป็นลักษณะของการกลึงชิ้นงานตามแนวขนานเพลาจับยึดของเครื่องกลึง ถ้าเป็นการกลึงปอกภายนอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นงานจะเล็กลง และถ้าเป็นการกลึปอกภายในหรือการกลึงคว้านรูจะทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางของรุมีขนาดโตขึ้น ตามรูปด้านล่าง
 |
รูปที่ 4 แสดงการกลึงปอกภายนอก |
 |
รูปที่ 5 แสดงลักษณะของการกลึงปอกภายในหรือการกลึงคว้านรู |
มีดกลึงสำหรับงานกลึงปอก
1) มีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายนอก : สำหรับงานกลึงภายนอกทั่วไป เช่น กลึงลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตลอดแนวความยาว ไม่มีร่อง ไม่มีตกบ่า ส่วนมากจะใช้มีดกลึงที่มีรูปร่างเหมือนตัว W มีข้อดีคือ สามารถรับแรงในการกลึงได้มาก ปกติจะใช้ปลายมีดรัศมี R04,R08 สำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก หาดต้องการผิวงานที่มีความละเอียดมากขึ้นอาจจะต้องใช้มีด T ขนาด R02 เก็บผิวอีกครั้ง. ลักษณะของด้ามมีดกลึงก็จะเป็นสี่เหลี่ยมมีทั้งมีดซ้ายและมีดขวาตามรูป
 |
รูปที่ 6 ด้ามมีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายนอก |
|
|
 |
รูปที่ 7 มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปอกทั่วไป |
2) มีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายในหรือการกลึงคว้านรู : ด้ามสำหรับจับยึดมีดกลึงก็จะถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก เนื่องการจากเป็นการทำงานตัดเฉือนภายในรู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของด้าม (คิดตรงรัศมีของปลายมีดกลึง) จะต้องเล็กกว่าขนาดของรูเพื่อป้องกันมีดกลึงชนกับชิ้นงาน สำหรับมีดกลึงในการคว้านรูก็จะมีขนาดเล็กกว่ามีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายนอกเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด.
 |
รูปที่ 8 ด้ามมีดกลึงสำหรับการกลึงคว้านรู |
 |
รูปที่ 9 มีดกลึงสำหรับการกลึงคว้านรู |