เครื่อง
CNC เป็นเครื่องจักรหลักลำดับต้นๆ
ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วน ต้นทุนในการผลิตด้วย เครื่อง CNC ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร, เครื่องมืออุปกรณ์, เครื่องมือตัด, ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา, ค่าแรงที่้องอาศัยพนักงานที่มีทักษะ เป็นต้น
ดังนั้น การตัดสินใจเพื่อซื้อ เครื่อง CNC แต่ละเครื่องนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก
ผมจึงขอนำเสนอแนวทางในการเลือกซื้อ เครื่อง CNC จากประสบการณ์ของผมที่อยู่ในวงการนี้มานานดังนี้
1. เงินลงทุน
สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคืองบประมาณที่มีอยู่สามารถซื้อ
เครื่อง CNC แบบไหนได้
และการซื้อเป็นการซื้อแบบเงินสดหรือการผ่อนชำระ. โดยทั่วไปแล้วการซื้อเครื่อง เครื่อง
CNC จะเป็นการซื้อแบบเงินผ่อนไม่ว่าจะมีเงินสดอยู่ในมือหรือไม่เป็นการลดความเสี่ยงไปในตัวเนื่องจากว่า
หากการลงทุนไม่เป็นผลสำเร็จตามที่วางแผนไว้
การมีเงินสดย่อมดีกว่าการมีเครื่องจักรอยู่ การขายทอดตลาดก็ลำบาก. นอกจากนี้
การเช่า เครื่อง CNC ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งลองพิจารณาประกอบกับความคุมค่าครับ
2. ชิ้นงานที่จะผลิต
ให้พิจารณาสเปคและความละเอียดของงานเพื่อที่จะกำหนดสเปคของเครื่องจักร
เช่น งานที่ต้องการความละเอียดสูงและมีการผลิตอย่างต่อเนื่องอาจจำเป็นต้องซื้อ เครื่อง
CNC จากค่ายญี่ปุ่นเนื่องจากมีการออกแบบที่ดีกว่า
ชิ้นส่วนมีความเที่ยงตรงสูงกว่าและทนทานต่อการใช้งานมากกว่า เครื่อง CNC จากค่ายไต้หวันแต่ก็จะต้องแลกกับราคาที่สูงกว่าประมาณ
30%
เมื่อได้สเปคและราคาของ
เครื่อง CNC แล้วลองนำมาคำนวณจุดคุ้มทุนเทียบโดยดูจากประมาณการการผลิตและผลกำไรที่จะได้รับ
หากยังมีผลกำไรเป็นไปตามเป้าหมายอยู่ ผมแนะนำให้ใช้เครื่องจากค่ายญี่ปุ่นครับ
3. สเปคของ เครื่อง CNC
ตรงนี้เป็นหัวข้อที่ยากมาก
จากที่ผมเห็นมา พนักงานขายเครื่องจักรไม่สามารถบอกสเปคและประสิทธิภาพของ เครื่อง CNC
ได้ทั้งหมดหรอกครับ
บางคนก็ผ่านการอบรมมาตามบทเรียน บางคนก็เรียนมาเฉพาะทฤษฏี หรือที่ดีขึ้นมาหน่อยก็คือ
มีประสบการณ์ในการทำงานกับ เครื่อง CNC มานานทำให้รู้เรื่องเกี่ยวกับ เครื่อง CNC
พอสมควร
แต่จะมีซักกี่คนครับ. ดังนั้นการกำหนดสเปคของซื้อ เครื่อง CNC ควรมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย
ทั้งด้านเทคนิค, ฝ่ายขาย,ฝ่ายซ่อมบำรุง, ฝ่ายผลิตและฝ่ายวางแผนการผลิต, ฝ่ายบัญชีการเงินและอาจจะรวมถึงฝ่ายบุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องกับส่วนบุคลากร
เพื่อพิจารณาร่วมกันจนกระทั่งได้สเปค เครื่อง CNC ที่ชัดเจน
โดยอาจจะมีการกำหนดความรับผิดชอบแต่ละฝ่ายดังนี้
- ฝ่ายขายเตรียมข้อมูลประมาณการยอดขายทั้งในปัจจุบันและอนาคตทั้งระยะสั้น(1-3 ปี)และระยะยาว (3 ปีขึ้นไป)
- ฝ่ายวางแผนการผลิตนำข้อมูลประมาณการยอดขายจากฝ่ายขายมาประมาณการการแผนการผลิตทั้งระยะสั้นและระยะยาวเช่นเดียวกัน
ต้องวิเคราะห์ด้วยว่า การเพิ่ม เครื่อง CNC เข้ามาสนับสนุการผลตรงส่วนไหน
และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างไร รวมทั้งจำนวน เครื่อง CNC ที่ต้องการเพื่อนำมาผลิตให้ได้ตามเป้าหมายหลักของบริษัท
- ฝ่ายซ่อมบำรุง
ต้องศึกษาข้อมูลของ เครื่อง CNC ที่คาดว่าจะซื้อเพื่อวิเคราะห์ทั้งความสามารถในการซ่อมบำรุง, ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซึ่งรวมถึงอะไหล่สำรองด้วย
- ฝ่ายผลิตต้องกำหนดทั้งแผนผังโรงงานในการจัดวางเครื่องจักร,
การวางแผนกระบวนการ
รวมถึงบุคลาการที่จำเป็น
-ฝ่ายบัญชีและการเงิน
ต้องเตรียมและรายงานถึงงบประมาณที่เตรียมไว้สำหรับการลงทุนในการจัดซื้อ เครื่อง CNC
-ฝ่ายบุคคล
รายแผนบุคลากรที่จะรองรับ
-ฝ่ายเทคนิค
รายงานผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพที่จะได้รับเมื่อมีการนำ เครื่อง CNC มาใช้ในการผลิต เป็นต้น