1. กำหนดขนาดของเกลียว
ในการทำเกลียวภายในรูเราจะใช้ดอก tap ในการตัดเกลียว ส่วนในการทำเกลียวภายนอกหรือบนงานที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกนั้นเราจะใช้ die ในการทำเกลียว. ก่อนที่จะ tap เกลียว เกลียวเราต้องกำหนดขนาดของเกลียวที่เราจะขึ้นรูปก่อน ขนาดของเกลียวแบ่งมาตรฐานออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบเกลียวนิ้ว ขนาดของเกลียวจะนับเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้ว ส่วนในระบบเมตริกขนาดของเกลียวจะนับเป็นระยะ pitch
2.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ประกอบด้วย ด้ามจับ, ดอก tap, น้ำมันหล่อลื่น แปรงปัดเศษ, ปากกาจับงาน เป็นต้น
3. ลงมือ tap เกลียว
1) ใส่ดอก tap เข้ากับด้ามจับ ปกติแล้วดอก tap เกลียวจะมีอยู่ 3 ดอก ส่วนแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ความเรียวและลักษณะเกลียวที่ปลายดอก tap ดอกที่ 1 จะเรียวมากที่สุดแต่ขนาดจะไม่เต็มเกลียว ข้อดีของดอกนี้คือ เป็นตัวช่วยกำหนดความแม่นยำและประคองตำแหน่งเมื่อเร่ิมทำการ tap เกลียว ส่วนดอกที่สองและดอกที่สามจะเรียวน้อยลงเรื่อยๆ ตามลำดับ ดอกที่สามซึ่งเป็้นดอกสุดท้ายนั้นจะมีเกลียวที่สมบูรณ์ที่สุด
2) เอาดอก tap ตั้งขึ้นแล้วใส่ลงไปในปากรูเจาะที่ต้องการทำเกลียว จะดีถ้ารูมีการทำ chamfer ที่ปากรูมาแล้ว ให้ดอก tap ตั้งฉากกับชิ้นงาน ด้าม tap ขนานกับชิ้นงาน
3) ค่อยๆ หมุนดอก tap ลงไป ถ้าเป็นเกลียวซ้ายให้หมุนไปตามทิศทางตามเข็มนาฬิกา ค่อยๆ หมุนจนกระทั่งตึงมือแล้วให้หมุนคลายดอก tap กลับมาในทิศทาง ทวนเข็มนาฬิกาเพื่อคลายเศษ ระหว่างตัดเกลียวให้หยอดน้ำมันหล่อลื่นด้วยจะช่วยลดแรงตัดทำให้เกลียวได้รูปทรงตามมาตรฐาน สวยงาม จากนั้นก็หมุนดอก tap กลับไปตัดเกลียวอีก ทำแบบนี้ไปเร่ือยๆ จนสุดหรือถึงความยาวของเกลียวที่ต้องการ แล้วหมุนคลายเพ่ือเอาดอก tap ออก
4) ใส่ดอก ดอกที่ 2 และ 3 ทำแบบข้อ 3 จนครบทั้ง 2 ดอก
5) วัดขนาดของเกลียว โดยอาจใช้สกรูในการเช็ค ลองใช้สกรูขนาดเดียวกันกับที่เรา tap ขัน เข้าไปในรูจนสุดปลายเกลียว ถ้าขันลงได้ สนิท ไม่คลอนแสดงว่าเกลียวใช้ได้
ในการทำเกลียวภายในรูเราจะใช้ดอก tap ในการตัดเกลียว ส่วนในการทำเกลียวภายนอกหรือบนงานที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกนั้นเราจะใช้ die ในการทำเกลียว. ก่อนที่จะ tap เกลียว เกลียวเราต้องกำหนดขนาดของเกลียวที่เราจะขึ้นรูปก่อน ขนาดของเกลียวแบ่งมาตรฐานออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบเกลียวนิ้ว ขนาดของเกลียวจะนับเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้ว ส่วนในระบบเมตริกขนาดของเกลียวจะนับเป็นระยะ pitch
2.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ประกอบด้วย ด้ามจับ, ดอก tap, น้ำมันหล่อลื่น แปรงปัดเศษ, ปากกาจับงาน เป็นต้น
3. ลงมือ tap เกลียว
1) ใส่ดอก tap เข้ากับด้ามจับ ปกติแล้วดอก tap เกลียวจะมีอยู่ 3 ดอก ส่วนแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ความเรียวและลักษณะเกลียวที่ปลายดอก tap ดอกที่ 1 จะเรียวมากที่สุดแต่ขนาดจะไม่เต็มเกลียว ข้อดีของดอกนี้คือ เป็นตัวช่วยกำหนดความแม่นยำและประคองตำแหน่งเมื่อเร่ิมทำการ tap เกลียว ส่วนดอกที่สองและดอกที่สามจะเรียวน้อยลงเรื่อยๆ ตามลำดับ ดอกที่สามซึ่งเป็้นดอกสุดท้ายนั้นจะมีเกลียวที่สมบูรณ์ที่สุด
2) เอาดอก tap ตั้งขึ้นแล้วใส่ลงไปในปากรูเจาะที่ต้องการทำเกลียว จะดีถ้ารูมีการทำ chamfer ที่ปากรูมาแล้ว ให้ดอก tap ตั้งฉากกับชิ้นงาน ด้าม tap ขนานกับชิ้นงาน
3) ค่อยๆ หมุนดอก tap ลงไป ถ้าเป็นเกลียวซ้ายให้หมุนไปตามทิศทางตามเข็มนาฬิกา ค่อยๆ หมุนจนกระทั่งตึงมือแล้วให้หมุนคลายดอก tap กลับมาในทิศทาง ทวนเข็มนาฬิกาเพื่อคลายเศษ ระหว่างตัดเกลียวให้หยอดน้ำมันหล่อลื่นด้วยจะช่วยลดแรงตัดทำให้เกลียวได้รูปทรงตามมาตรฐาน สวยงาม จากนั้นก็หมุนดอก tap กลับไปตัดเกลียวอีก ทำแบบนี้ไปเร่ือยๆ จนสุดหรือถึงความยาวของเกลียวที่ต้องการ แล้วหมุนคลายเพ่ือเอาดอก tap ออก
4) ใส่ดอก ดอกที่ 2 และ 3 ทำแบบข้อ 3 จนครบทั้ง 2 ดอก
5) วัดขนาดของเกลียว โดยอาจใช้สกรูในการเช็ค ลองใช้สกรูขนาดเดียวกันกับที่เรา tap ขัน เข้าไปในรูจนสุดปลายเกลียว ถ้าขันลงได้ สนิท ไม่คลอนแสดงว่าเกลียวใช้ได้