บทนำ
เทคโนโลยี
CNC เป็นเทคโนโลยีที่มีการนำระบบของ
CNC (Computer Numerical Control) เข้ามาช่วยในกระบวนการต่างๆ .
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมอย่างมาก
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ซึ่งมีการแข่งขันที่สูง
นอกจากนี้ก็จะมีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มาแรงไม่แพ้กัน
ที่เด่นชัดที่สุดก็คงหนีไม่พ้นโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์
ถัดมาก็จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น.
อุตสาหกรรมการกล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงอุตสาหกรรมหลักๆ
เท่านั้น ยังมีหลายๆ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี CNC ด้วยเช่นกัน.
ดังนั้นก็คงจะพอมองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี CNC แล้วนะครับ.
กระบวนการ CNC มีหลักการอย่างไร?
หลักการของ
CNC คือ
การนำระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการผลิต
อาจจะยังมองไม่เห็นภาพใช่ไหมล่ะครับ ผมจะยกตัวอย่าง ชิ้นงาน A ต้องการกลึงชิ้นงานให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
10.0+-0.5mm. หากทำการกลึงด้วยเครื่องกลึงแบบ
manual โดยใช้มือหมุนป้อนก็คงไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่นะครับ
เพราะมีค่าเผื่อ +- ถึง 0.5mm. แต่ถ้าลองเปลี่ยนค่าเผื่อเป็น +-0.05mm. ลองนึกภาพตามนะครับว่าจะบังคับมือหมุนของเครื่องกลึงยังไงเพื่อให้สามารถควบคุมขนาดของชิ้นงานให้ได้
10+-0.05mm. ยากใช่ไหมล่ะครับ?.
แต่เมื่อนำระบบ
CNC เข้ามาช่วยในเครื่องกลึง
CNC ควบคุมการทำงานด้วยตัวเลขได้ถึง
0.001mm.(เป็นความละเอียดของหน่วยวัดของเครื่อง
CNC นะครับ
ความละเอียดของงานจริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการผลิตหลายๆ อย่างประกอบกัน) โปรแกรม CNC
ภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องมือตัดและระบบขับเคลื่อนของเครื่องกลึง
CNC เคลื่อนที่ไปตามที่ตัวเลขกำหนด
ซึ่งมีความแม่นยำสูงกว่าการป้อนด้วยระบบ manual หลายเท่าตัว. นอกจากนี้ข้อเสียของการกลึงด้วยเครื่องกลึง
manual อย่างหนึ่งคือ
การกลึงแต่ละรอบโอกาสที่ขนาดและเวลาในการกลึงจะเท่ากัน 100% แทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งจะต่างกับเครื่อง CNC หากกลึงด้วยโปรแกรมเดียวกันภายใต้เงื่อนไขต่างๆ
เดียวกันชิ้นงานจะออกมามีขนาดเท่ากันและใช้เวลาในการผลิตเท่ากัน.
แค่นี้ก็คงพอจะมองเห็นความแตกต่างของการทำงานทั้งสองระบบระหว่างระบบ manual feed (ระบบป้อนด้วยมือ) และระบบ CNC แล้วนะครับ
แค่นี้ก็คงพอจะมองเห็นความแตกต่างของการทำงานทั้งสองระบบระหว่างระบบ manual feed (ระบบป้อนด้วยมือ) และระบบ CNC แล้วนะครับ
สรุปข้อดีของการนำระบบ CNC เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต
1.สามารถผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดได้มากกว่าการผลิตด้วยระบบ
manual
2.ชิ้นงานในการผลิตมีคุณภาพเดียวกันภายใต้เงื่อนไขการผลิตที่เหมือนกัน
3.สามารถผลิตชิ้นงานจำนวนมากได้ภายในเวลารวดเร็ว(เวลาในการผลิตแต่ละรอบขึ้นอยู่กับ
Cycle Time ของโปรแกรม
CNC)
4.เครื่องจักรทำงานแบบอัตโนมัติ
ในระหว่างที่เครื่อง CNC กำลังทำงาน ผู้ควบคุมเครื่องสามารถไปควบคุมเครื่องจักรอื่นหรือทำงานอื่นไปด้วยได้
5.สำหรับผู้ควบคุมเครื่องไม่จำเป็นเป็นต้องมีทักษะสูงก็สามารถปฏิบัติงานได้
6.สามารถทำงานต่อเนื่องได้ตลอด
24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ต้องหยุดพัก ทำให้มีอัตราการผลิตที่สูง
7.มีระยะเวลาในการผลิตแต่ละชิ้นที่แน่นอน
ทำให้สามรถวางแผนการผลิตได้แม่นยำ
8.สามารถผลิตชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ดีกว่าเครื่องจักรแบบ
manual
9.ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยกว่าการผลิตด้วยเครื่องจักรแบบ
manual
10.มีความปลอดภัยสูงกว่า
เนื่องจากเครื่องจักร CNC ได้มีการออกแบบระบบ Safety มาด้วย ทั้งในส่วนของโครงสร้างเครื่องที่มีการครอบคลุมทุกด้าน,
กระจกนิรภัย, ระบบตัดการทำงานเมื่อมีการเปิดประตูเครื่อง.
11.ลดเวลาในการตรวจสอบคุณภาพลง
เนื่องจากเป็นการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน
ชิ้นงานที่ออกมากจะมีรูปร่างที่เหมือนกัน การตรวจสอบชิ้นงานอาจะเป็นการสุ่มตรวจเท่านั้น
12.สามารถใช้เครื่องมือได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากมีการตัดด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสม
และเหมือนกันในการผลิตชิ้นงานเดียวกัน
ข้อเสียของระบบ CNC
1.มีค่าใช้จ่ายสูง
เนื่องจากเครื่องจักร CNC มีราคาแพงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นการตัดสินใจที่จะนำเครื่องจักร
CNC มาใช้ในการผลิต
ควรจะวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างรอบคอบเสียก่อน
2.พนักงานปรับตั้งชิ้นงานต้องมีทักษะสูงและค่าจ่างแพงและหายาก
3.คาซ่อมแซมและบำรุงรักษาสูง
เนื่องจากเครื่อง CNC มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนต้องอาศัยทักษะที่สูงของช่าง
นอกจากนี้อะไหล่ชิ้นส่วนยังมีราคาสูงอีกด้วย
4.ระบบการทำงานและควบคุมของเครื่อง
CNC(Controller) เป็นภาษาอังกฤษ พนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่อง CNC
โดยเฉพาะช่างที่ทำหน้าที่ปรับตั้งชิ้นงานควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องให้เข้าใจก่อน