ค้นหา

เครื่องกลึง

เครื่องกลึง เป็นเครื่องจักรหลักที่ใช้ในกระบวนการกลึง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของการทำงานคือ เครื่องกลึงที่ควบคุมการทำงานด้วยมือ หรือเครื่องกลึง manual และเครื่องกลึงที่ควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือ เครื่องกลึง CNC

1. เครื่องกลึงแบบ Manual
เครื่องกลึง Manual มีการควบคุมแบบ manual ป้อนเครื่องมือตัดโดยใช้มือหมุน (Hand Wheel) หมุุนเคลื่อนเครื่องมือตัดเข้าตัดชิ้นงานในแกนต่างๆ  ตามระยะต้องการ


รูปที่ 1 เครื่องกลึง manual
ขอบคุณรูปภาพจาก www.custompartnet.com

    1.1 ส่วนประกอบของเครื่องกลึง Manual
เครื่องกลึงแบบ manual แบ่งส่วนประกอบหลักๆ ออกได้ดังนี้
        1) ฐาน (Bed) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับชิ้นส่วนทั้งหมดของเครื่องกลึง ฐานของเครื่องกลึงทำจากเหล็กหล่อซึ่งมีคุณสมบัติในการรองรับน้ำหนักได้ดี
        2) หัวเครื่อง (Head Stock) หัวเครื่องประกอบด้วยชุดรับส่งกำลังจากมอเตอร์ ทำหน้าที่รับกำลังจากมอเตอร์หลักของเครื่องส่งถ่ายที่แกนเพลาหลักของเครื่อง (main spindle)
        3) มอเตอร์หลัก (Main Motor) ทำหน้าที่ในการหมุนและส่งกำลังผ่านระบบขับเครื่องของเครื่องกลึง ไปจนถึงเพลาหลักของเครื่องกลึง
        4) เพลาหลัก (Main Spindle) จะยึดติดกับหัวจับชิ้นงานรับกำลังมาจากมอเตอร์หลัก ส่งกำลังผ่านระบบขับเคลื่อนๆ ต่างๆ. ความเร็วในการหมุนของเพลาหลักสามารถปรับเปลียนได้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระบบส่งกำลังที่ออกแบบมา ซึ่งจะสามารถปรับได้เป็นขั้นๆ. ตามรูปที่ 2

รูปที่ 2 ระบบส่งกำลังของเครื่องกลึง
จากรูปที่ 2 จะเห็นว่าระบบส่งกำลังประกอบด้วยส่วนต่าง ดังนี้
  • มอเตอร์หลัก : ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังในการหมุน
  • มูเล่ย์ : ทำหน้าที่เป็นตัวรับและส่งกำลังในระบบสายพาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมู่เลย์จะสัมพันธ์กับความเร็วของเพลาหลัก
  • สายพาน : จะประกอบอยู่กับชุดของมู่เลย์ช่วยในการส่งกำลัง
  • เฟือง : นอกจากสายพานแล้ว เฟืองยังเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญมากในการส่งกำลังๆ หลายชนิด เช่นเฟืองตรง
  • เพลาขับหรือเพลาหลัก  : ยึดติดอยู่กับเพลาหลัก