ค้นหา

งานกลึง

งานกลึง (Turning)

งานกลึงเป็นกระบวนการขึ้นรูปงานในลักษณะของงานทรงกระบอกเป็นหลักประกอบด้วย งานกลึงปาดหน้า, งานกลึงปอก,งานกลึงเกลียว, งานกลึงคว้านรูใน, งานกลึงเซาะร่อง, งานกลึงตัด, รูปด้านล่างแสดงตัวอย่างของงานกลึงประเภทต่างๆ.

เครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูปนงานกลึงคือ เครื่องกลึง (Lathe) มีทั้งเครื่องกลึงที่เป็นการควบคุมแบบธรรมดาหรือ manual และเครื่องกลึงที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ (CNC Lathe). นอกจากงานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เครื่องกลึงยังสามารถทำงานได้อีกหลายอย่าง เช่น เจาะรู (drill), ต๊าปเกลียว (Tapping)
ลักษณะการขึ้นรูปของงานกลึงนั้น ชิ้นงานจะยึดติดอยู่กับที่และหมุนอยู่บนหัวจับ (spindle) ของเครื่องกลึง หลังจากนั้นเครื่องมือตัด (cutting tool) จะเคลื่อนที่เข้าตัดชิ้นงานเป็นรูปร่างต่างๆ



รูปที่ 1 แสดงการกลึงลักษณะต่างๆ

ประเภทของงานกลึง

1.งานกลึงปาดหน้า (Facing Turning)




รูปที่ 2 แสดงการกลึงปาดหน้า

 การกลึงปาดหน้า เป็นลักษณะการกลึงปาดผิวหน้าตัดของชิ้นงาน (รูปประกอบ) ออก ชิ้นงานจะหมุน ส่วนมีดกลึงจะเคลื่อนที่เข้าออกในแนว Y (ด้านตั้งฉากกับ spindle) เพื่อปาดผิวหน้า และเลื่อนซ้าย-ขวาในแนวแกน Z (แนวเดียวกับ spindle) เพื่อควบคุมความยาว

มีดที่ใช้ในการกลึงปาดหน้า
มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปาดหน้ามีหลายรูปทรงแต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ รูปทรงสามเหลี่ยม (รูปที่ 3) หรือมีดกลึงชนิด T (Triangle) มีมุม 60 องศา สามารถกลึงงานได้ 3 มุม. การเลือกขนาดรัศมีปลายมีดกลึง(R) ขึ้นอยู่กับความละเอียดของผิวปาดหน้าที่ต้องการ ถ้าต้องการผิวละเอียดมากก็ใช้ R ที่มีขนาดเล็ก เช่น 0.2 - 0.4 mm.
 

รูปที่ 3 มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปาดหน้า

2.งานกลึงปอก

การกลึงปอกเป็นลักษณะของการกลึงชิ้นงานตามแนวขนานเพลาจับยึดของเครื่องกลึง ถ้าเป็นการกลึงปอกภายนอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นงานจะเล็กลง และถ้าเป็นการกลึปอกภายในหรือการกลึงคว้านรูจะทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางของรุมีขนาดโตขึ้น ตามรูปด้านล่าง


รูปที่ 4 แสดงการกลึงปอกภายนอก
รูปที่ 5 แสดงลักษณะของการกลึงปอกภายในหรือการกลึงคว้านรู
 
 
มีดกลึงสำหรับงานกลึงปอก
1) มีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายนอก : สำหรับงานกลึงภายนอกทั่วไป เช่น กลึงลดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตลอดแนวความยาว ไม่มีร่อง ไม่มีตกบ่า ส่วนมากจะใช้มีดกลึงที่มีรูปร่างเหมือนตัว W มีข้อดีคือ สามารถรับแรงในการกลึงได้มาก  ปกติจะใช้ปลายมีดรัศมี R04,R08 สำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก หาดต้องการผิวงานที่มีความละเอียดมากขึ้นอาจจะต้องใช้มีด T ขนาด R02 เก็บผิวอีกครั้ง. ลักษณะของด้ามมีดกลึงก็จะเป็นสี่เหลี่ยมมีทั้งมีดซ้ายและมีดขวาตามรูป

รูปที่ 6 ด้ามมีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายนอก

รูปที่ 7 มีดกลึงที่ใช้ในการกลึงปอกทั่วไป
 
 
2) มีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายในหรือการกลึงคว้านรู : ด้ามสำหรับจับยึดมีดกลึงก็จะถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก เนื่องการจากเป็นการทำงานตัดเฉือนภายในรู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของด้าม (คิดตรงรัศมีของปลายมีดกลึง) จะต้องเล็กกว่าขนาดของรูเพื่อป้องกันมีดกลึงชนกับชิ้นงาน สำหรับมีดกลึงในการคว้านรูก็จะมีขนาดเล็กกว่ามีดกลึงสำหรับการกลึงปอกภายนอกเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด.



รูปที่ 8 ด้ามมีดกลึงสำหรับการกลึงคว้านรู
 
 


รูปที่ 9 มีดกลึงสำหรับการกลึงคว้านรู