ค้นหา

การควบคุมเศษวัสดุที่เกิดขึ้นจากการตัดในงานกลึง


ในงานกลึงโดยเฉพาะการกลึงแบบป้อนชิ้นงานแบบอัตโนมัติ ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่พบคือเศษของวัสดุที่เกิดขึ้นจากการตัดของมีดกลึงเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากมากโดยกระบวนการกลึงผสมผสานระหว่างการกลึงปอกและกลึงปาดหน้า มุมในการตัด (approach angle) ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ระหว่างการกลึงเป็นสิ่งที่ทำการให้คลายเศษวัสดุเป็นไปอย่างไม่ราบลื่นมุมยิ่งเล็กการคลายเศษยิ่งทำได้ยากขึ้น.

เศษที่ติดอยู่กับชิ้นงานขณะทำการกลึงจะส่งผลเสียดังนี้

 1.ผิวของชิ้นงานอาจมีรอยขรุขระเป็นช่วงๆ เนื่องจากแทนที่ปลายของมีดกลึงจะสัมผัสที่ชิ้นงานโดยตรงแต่บางครั้งมีเศษที่ติดขวางกั้นไว้ ทำให้มีดกลึงลากครูดเศษวัสดุไปพร้อมกัมชิ้นงาน ทำให้ชิ้นงานมีรอย คุณภาพผิวต่ำ.
2.ชิ้นงานไม่ได้ตามขนาดที่กำหนดเนื่องจากเหตุคล้ายๆ ข้อ 1 เมื่อปลายของมีดกลึงไม่ได้สัมผัสกับผิวชิ้นงานโดยตรง ขนาดของชิ้นงานที่โดนตัดเฉือนออกไปก็จะผิดเพี้ยน
3.ความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากกระบวนการตัดที่ไมปกติทำให้อายุการใช้งานของมีดกลึงลดลง
4.ผลกระทบอื่นที่ตามมาเช่น เกิดงานเสียต้องเสียต้นทุนการผลิตงานทดแทน, แผนการผลิตไม่ตรงตามเป้าหมายอาจส่งผลถึงกำหนดส่งงานให้ล่าช้าได้ เป็นต้น

การแก้ไขปัญหาเศษวัสดุขณะทำการกลึง

การแก้ไขที่ใช้ได้ผลมากที่สุดคือ เลือกใช้ชนิดของการกลึงให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงการเคลื่อนที่ตามรูปร่างของชิ้นงานและโปรแกรม cnc ในขณะที่กลึงปอกหรือกลึงปาดหน้า. ลักษะของมุมตัดเศษ (chip breaker) มีผลต่อการหักเศษและคลายเศษชิ้นงานโดยตรง. มุมตัดเศษที่ดีต้องสามารถตัดหักเศษวัสดที่เกิดจากการกลึงได้ทันก่อนที่เศษจะไปพันกับชิ้นงาน. เศษในการกลึงปาดหน้าอาจจะน้อยกว่าเศษในการกลึงปอกเนื่องจากการกลึงปาดหน้าสามารถป้อนค่าความลึกในการกินชิ้นงานได้น้อย 

 

ในรูปตัวอย่างที่ 1แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมุมของมีดกลึงที่ทำกับชิ้นงานและช่องว่างที่เกิดขนก็คือ มุมในการคลายเศษ มุมยิ่งมากการคลายก็ยิ่งดี แต่ถ้ามากเกินไปทำให้ความแข็งแรงของคมตัดลดลงดังนั้นควรเลือกมุมที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งก็ยากที่จะบอกได้ว่าอะไรคือเหมาะสมที่สุด ต้องทำการทดลอง การทำการกลึงได้อย่างต่อเนื่องได้นานที่สุดโดยที่ไม่ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อเอาเศษออกจะเป็นผลการทดลองที่ดีที่สุด ดังนั้นนี่จึงเป็นวิธีในการควบคุมเศษจากการตัดที่ดี.