มาตรการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับเครื่องซีเอ็นซี
อาจจะแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ1.ส่วนในการออกแบบและพัฒนาเครื่องซีเอ็นซี :
ส่วนที่ต้องดำเนินการตั้งแต่ผู้ผลิต ต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบจากการทำงานในระบบต่างๆ ขงเครื่องซีเอ็นซี เพื่อพัฒนาระบบป้องกันควมปลอดภัยแบบอัตนมัติ เช่น ระบบ inter lock ระบบนี้พนักงานที่ควบคุมเครื่องซีเอ็นซีจะไม่สามารถเปิดประตูเครื่องจักรได้ถ้าหากเครื่องจักรกำลังทำงาน (แต่ก็จะมีฟังก์ชั่นในการปลดล็อก ควรใช้เฉพาะในกรณีพิเศษเท่านั้น เช่น การซ่อมแซมเครื่องจักร, การตั้งค่าพารามิเตอร์ซึ่งทำโดยผู้เชี่ยวเฉพาะ), ระบบ Emergency Stop ปุ่มหยุดเครื่องฉุกเฉินนี้จะถกติดตั้งอยบนเครื่องซีเอ็นซีในตำแหน่งที่มีการวิเคราะห์มาแล้วว่า เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินสามารหยุดเครื่องจักรได้เร็วที่สุด.2.อีกส่วนในกาจัดการมาตรการความปลอดภัยสำหรับการเครื่องซีเอ็นซี :
คือ การให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยทั่วไป กับมารตรฐานด้านความปลอดภัยที่ต้องระวังพิเศษเฉพาะเครื่องซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต้อง ทำอย่างไรบ้าง. นอกจากนี้ต้องจัดทำป้ายเตือนต่างๆ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังของพนักงานผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องซีเอ็นซี. และส่วนที่ขาดไม่ได้โดยเฉพาะประเทศไทย คือ การสร้างความตระหนักในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลซึ่งหากบางองค์กรไม่มีการเข้มงวดอย่างเคร่งครัดก็จะหละหลวมใส่บ้าง ไม่ใส่บ้าง ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุหลักในโรงงานในประเทศไทยโหลดดู สถานการณ์การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนมัยของประเทศไทยปี 2555 ที่ http://buymachinetool.com/upload/safety%20situation%20thailand%202555.pdf