ค้นหา

ทำไมต้องใช้ CNC?

เหตุผลหลักที่ต้องใช้เครื่องจักร CNC มีดังนี้


1. มีความแม่นยำสูงในการปฏิบัติงาน เพราะชิ้นงานทุกชิ้นต้องการขนาดที่แน่นอน ; CNC สามารถทำงานได้ที่ความละเอียดน้อยกว่า 0.005 mm*
*ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพเครื่องและการปรัับ condition ต่างๆ

2. ชิ้นงานทุกชิ้นมีคุณภาพสม่ำเสมอเท่ากันหมด เนื่องจากผลิตโดยใช้โปรแกรมในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร CNC ; การเคลื่อนไหวของแกนต่างๆในการตัดชิ้นงาน ถูกควบคุมด้วยระบบตัวเลข ซึ่งทำให้ไม่ว่าจะทำงานด้วยจำนวนมากน้อยแค่ไหน ถ้าทำงานด้วยโปรแกรมเดียวกัน, Condition ต่างๆ เหมือนกัน, ชิ้นงานก็จะมีขนาดเท่ากัน

3. โอกาสเกิดความเสียหายต่อชิ้นงานหรือต้องแก้ไขชิ้นงานจะมีน้อยมากหรือแทบจะ ไม่มีเลย เพราะชิ้นงานที่ทำจะใช้โปรแกรมในการควบคุม ถ้าเกิดปัญหาข้อผิดพลาดก็จะแก้ไขได้ที่ตัว โปรแกรม ; CNC รุ่นใหม่ๆ จะมีการ Simulate Program ในรูปแบบ 3 มิติ เสมือนจริง ก่อนที่จะรันงานจริง ทำให้ทราบถึงข้อบกพร่องก่อนทำงาน สามารถแก้ไขได้ทันก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับชิ้นงานจริง

4. สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องหยุดพักเครื่อง เพียงแต่ต้องมีผู้ควบคุมประจำเครื่อง ; สามารถรันงานได้เองตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อที่จะคอยแก้ไขกรณีที่เครื่อง error หรือมีปัญหา ซึ่งพนักงาน 1 คน อาจจะควบคุมเครื่องจักรได้หลายเครื่อง

5. มีความรวดเร็วสูงในการผลิต ทำให้ได้ผลผลิตสูง และสามารถกำหนดระยะเวลาในการผลิตชิ้นงานได้ว่าใช้เวลาในการทำงานเท่าไร ; เนื่องจากโปรแกรมที่ตั้งไว้จะรันงานด้วยระะเวลาที่เท่ากันในแต่ละรอบ

6. สามารถคาดคะแนและวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำ เพราะรู้ระยะเวลาในการผลิต สามารถกำหนดหรือส่งสินค้าได้ตรงตามวันและเวลา ; จากข้อ 5 สามารถนำเวลามาใช้เวลาในการวางแผนการผลิตได้อย่างแม่นยำ

7. สามารถสลับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นงานได้หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วในการทำงานเพราะใช้โปรมแกรมในการสั่งงาน ; ปัจจุบันรูปร่างที่ซับซ้อนสามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานด้วย CNC ได้ในเวลาอันรวดเร็วด้วย Software ประเภท CAM (Com Aided Manufacturing)

8. เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผลผลิตที่เท่ากัน เครื่องจักร CNC ใช้พื้นที่น้อยกว่าและลดพื้นที่การจัดเก็บชิ้นงาน ; CNC หลายๆรุ่น มี Option Autofeed คือสามารถป้อนวัตถุดิบอัตโนมัติทำให้ไม่ต้องคอยป้อนชิ้นงานทีละชิ้น ทำให้สามารถจำกัดพื้นที่ในการทำงานได้แน่นอน

9. มีความสะดวกและรวดเร็ว สำหรับใช้ในการผลิตชิ้นงานต้นแบบที่มีการแก้ไขบ่อย ๆ เพราะเวลาแก้ไขสามารถแก้ไขได้ที่โปรแกรม ; การแก้ไขสามารถทำได้รวดเร็วในโปรแกรมต้องสามารถจำลองสถานการณ์ในการทำงานจริงได้

10. ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูงและมีหลายขั้นตอนในการผลิต สามารถใช้เครื่องจักร CNC เพียงเครื่องเดียวในการผลิต ทำให้ไม่เสียเวลามาก ; ถึงแม้ชิ้นงานจะมีความซับซ้อน บางทีความยุ่งยากอาจจะไปอยู่ในช่วงการเขียนโปรแกรม แต่ว่าจะทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่เหมือนกรณีที่เป็นเครื่องจักรแบบ manual  ผู้ผลิตต้องทำงานด้วยความยากตลอดทุกๆชิ้นงาน

11. ลดขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพ เพราะชิ้นงานนั้นจะได้ขนาดเท่ากันทุกชิ้น แต่ควรที่จะกำหนดค่าของความเร็วรอบที่จะใช้ ; จากที่เคยตวจสอบ 100% อาจเหลือแค่การสุ่มตรวจเท่านั้น
ความเร็วในการตัดตัดให้เหมาะสมเพื่อลดอายุการใช้งานของทูล

12. ทำให้สามารถใช้ ทูล หรือ เครื่องมือตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะต้องคำนวณค่าต่าง ๆ มา ก่อนลงมือปฏิบัติงานกับเครื่องจักร CNC ; สามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ tool และเครื่องมือตัดต่างๆ ได้ เนื่องจากเครื่องจากทำงานด้วย condition เดียวกันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เครื่องมือตัดที่ใช้มีอายุการใช้งานที่ยาวงานขึ้น

13. ลดแรงงานในสายการผลิตลงเนื่องจาก ผู้ควบคุมเครื่อง 1 คน สามารถคุมได้ 3 -4 เครื่อง ระหว่างที่เครื่องจักรทำงาน พนักงาน 1 คนสามารถไปควบคุมเครื่องจักรอื่นได้อีก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยุ่กับ cycle time (รอบในการทำงานตามโปรแกรมของชิ้นงานแต่ละชิ้น)

14. ใช้อุปกรณ์เสริมน้อย แต่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจโปรแกรมในการสั่งงาน ; นอกจากพนักงานที่ทำหน้าที่ Setup โปรแกรม พนักงานที่คุมเครื่องต้องเข้าใจในส่วนของโปรแกรมสั่งงานบ้าง เพราะการทำงานกับเครื่อง CNC มีข้อเสียตรงที่ถ้าตัวพนักงานคุมเครื่องเองไม่เข้าใจการทำงานเลย อาจจะมีการปรับแต่ง condition บางค่า อาจทำให้เครื่องจักรทำงานผิดพลาดได้