ค้นหา

ขั้นตอนการ setup งานเครื่องกลึง CNC

การ setup ชิ้นงานของเครื่อง CNC นั้นเป็นการปรับตั้งตำแหน่งต่างๆ ของทั้งโปรแกรม, เครื่องจักร และชิ้นงานให้ตรงกัน รวมทั้งปรับ condition ต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการผลิตชิ้นงาน



 


ขั้นตอนในการ setup ชิ้นงานมีดังนี้ (ดูคลิป VDO ประกอบ)
1.ขั้นตอนการเตรียมการ สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการ setup ชิ้นงานมีดังนี้
  • เครื่องจักร CNC (CNC Machine)
  • วัตถุดิบ (Material)
  • แบบชิ้นงาน (Drawing)
  • โปรแกรม CNC
  • เครื่องมือตัด (Cutting Tool)
  • เครื่องมือตรวจสอบชิ้นงาน (Measurement Tool)
  • อุปกรณ์ช่วยในการ setup ชิ้นงานอื่นๆ (Other Tool)


2.เปิดเครื่อง CNC, โดยให้เปิด Main Switch
3.คลาย Lock ปุ่ม Emergency Stop
4.กดปุ่ม Start แล้วรอจนกระทั่งเครื่อง CNC Boot เสร็จ
5.กดปุ่ม Zero Return เพื่อให้แกนต่างๆ กลับไปยังตำแหน่งศูนย์ของเครื่อง CNC โดยทำการเลือกทีละแกนจนครบ ให้สังเกตค่าตำแหน่งในหน้าจอในแต่ละแกนต้องไปที่ตำแหน่ง X0,Y0
6.ต่อไปเป็นการปรับตั้งชิ้นงาน ให้ใส่ชิ้นงานไปที่หัวจับของเครื่อง CNC ใช้เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์วัดระยะที่ยื่นออกมาจากหัวจับ ซึ่งระยะนี้ดูได้จากแบบงานซึ่งรวมค่าเผื่อกัน cutting tool ชนกับเครื่องจักรแล้ว จากนั้น Lock ชิ้นงานให้แน่น
7.ต่อไปเป็นการตั้งค่า Zero ของโปรแกรม. เริ่มจากปรับการเคลื่อนที่ของแกนโดยใช้ Hand wheel(มือหมุน) , หมุนปรับระยะปลายของ cutting tool ให้อยู่ในระยะที่พร้อมที่จะกลึงงานและระยะที่ปลอดภัยเพื่อป้อกันการชนกับหัวจับ
8.กดปุ่ม Cycle Start เพื่อให้ Spindle หมุน หลังจากนั้นจะเป็นการกลึงชิ้นงานเพื่อกำหนดระยะ Zero ของแกนต่างๆ โดยใน VDO จะเริ่มจากแกน X ก่อน แกน Y (จะเริ่มแกนไหนก่อนก็ได้) ให้หมุนค่อยๆ เคลื่อน cutting tool  ให้ตัดชิ้นงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอาพอผิวหน้าชิ้นงานเรียบก็ได้ หลังจากนั้นปรับค่าให้ตำแหน่งในปัจจุบันในแกน X ให้มีค่าเป็น X = 0, ต่อมาก็ให้ทำในแกน Y เช่นเดียวกัน แต่จะเปลี่ยนจากกลึงปาดหน้าเป็นกลึงปอกแทน โดยให้หมุนแกนเข้าไปในแกน Y เล็กน้อย ประมาณว่าให้ปอกชิ้นงานจนหมดผิววัตถุดิบก็พอ จากนั้นก็เซตค่าแกน Y ให้เป็น 0, ส่วนการปรับตั้ง Tool  เบอร์อื่น ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยโดยใช้หาค่า Offset ระหว่าง Tool เบอร์อื่น กับ Tool เบอร์แรกที่เราได้มีการเซตให้เป็น X0,Y0 แล้ว หลังจากนั้นก็ปรับค่าความแตกต่างระหว่าง Tool และเซตให้ปลาย tool ทั้งหมดอยู่ที่จุด Origin เดียวกันทั้งหมดพอมาถึงขั้นตอนนี้เราก็จะได้ตำแหน่ง 0 ของชิ้นงานและโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะขึ้นรูปชิ้นงานตามโปรแกรม
9.จากนั้นก็จะเป็นการรันชิ้นงานจริง สำหรับชิ้นงานชิ้นแรกอาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นเผื่อเกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการ setup โดยอาจจะต้องปรับ Feed ลงมาให้ช้าก่อน แล้วค่อยๆ ดูการเคลื่อนไหวของ cutting tool ประกอบกับตำแหน่งที่เปลี่ยนไปในหน้าจอ ค่อยเช็คทีละ step จนกระทั่งจบโปรแกรม

10.เมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จ เอาชิ้นงานออกมาตรวจสอบขนาดต่างๆ ตามที่แบบชิ้นงานกำหนด เป็นอันเสร็จสิ้นการ setup ชิ้นงานบนเครื่อง CNC Lathe.